วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

WELCOME TO WEBLOG
 Mr. Khanphipat  




คำอธิบายรายวิชา

.....ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟต์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้


วัตถุประสงค์

.....เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้

.....1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสานสนเทศได้
.....2. อธิบายความสันพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้

.....3. ยกตัวย่างเทคโนโลยีสารสนเทศได้และการสื่อสารในชีวิตจริงได้
.....4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
.....5. อธิบายความสันพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
.....6. บอกความหมายและองประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้
.....7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
.....8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟแวร์แต่ละประเภทได้
.....9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเทอร์เน็ตได้
.....10. บอกความสันพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
.....11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
.....12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
.....13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
.....14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
.....15. นำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

...ให้นักศึกษาอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามต่อไปนี้...

 
     1. คำว่า "เทคโนโลยี" หมายความว่าอย่างไร
     2. คำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายความว่าอย่างไร
     3. ให้ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันมา 3 ตัวอย่าง พร้อมอธิบาย


ความซื่อสัตย์


   1. ความหมายของคำว่า ซื่อสัตย์

          คำว่าซื่อสัตย์  มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2526 ว่า

ซื่อตรงและจริงใจ หรือ ไม่คิดคดทรยศ หรือไม่คดโกงและไม่หลอกลวง           
          หมายถึง มีความซื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ
          หมายถึง  การซื่อตรงไม่คดโกงเป็นการแสดงออกทางใจไม่มีเงื่อนงำในใจ ทางวาจาก็พูดจริงเชื่อถือไว้ใจมีความซื่อสัตย์ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นเป็นการกระทำที่เป็นไปอย่างถูกทาง ไม่ผิดจากความจริง  ดังนั้นในการดำเนินชีวิตครอบครัวให้มีความสุข หัวหน้าครอบครัวควรมีความซื่อสัตย์ในตนเอง ครอบครัวและสังคมเพื่อนบ้าน  พูดแล้วต้องทำแสดงว่าพูดจริงทำจริง

          ความซื่อสัตย์   เป็นลักษณะที่ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้วางใจ  เป็นที่น่าคบหาสมาคมด้วย  ถ้าขาดความซื่อสัตย์จะเป็นคนไม่น่าคบหาสมาคม   เป็นที่ระแวงแคลงใจของเพื่อนและ

บุคคลใกล้ชิด   โดยปกติแล้วผู้ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านส่วนตัวการประกอบอาชีพ   การสังคม
          หมายถึง  มีความจริงใจ ทั้งในการพูดหรือปฏิบัติ โดยจะพูดและปฏิบัติตรงตามความคิด ทั้งต่อตนและต่อผู้อื่น  ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ได้แก่ การไม่เข้าข้างตนเอง  การไม่โยนกลอง การไม่สร้างปมเขื่องซ่อนปมด้อย  และการไม่ยกเว้นให้ตนเอง  ความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นย่อมเกิดจากจิตที่มีความเมตตาและมีความยุติธรรม  ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข และเกิดสิ่งดี สิ่งที่ถูกต้องในสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน 

คุณธรรม”  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
                           สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
จริยธรรม คือ  จริย + ธรรมะ  คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง 
                  ก่อให้เกิดความ  สงบเรียบร้อยในสังคม  รวมสรุปว่าคือ   ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

   2. ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์
         การพูดจริงทำจริงก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยรวมอย่างมากมายกล่าวคือ
     1. ทำให้เกิดความไว้วางใจระหว่างกัน
     2. การพูดจริงทำจริง จะทำให้การทำงานมีความเจริญก้าวหน้า
     3. จะทำให้ได้รับเกรียติ ดังเช่นผู้ที่ตายในสงคราม
     4. จะเป็นที่รักใคร่ในหมู่เพื่อนฝูงและสังคมโดยทั่วไป
     5. จะไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนกลับกลอก
  
   3. พฤติกรรมที่แสดงถึงความซื่อสัตย์ และไม่ซื่อสัตย์
          พฤติกรรมที่แสดงความซื่อสัตย์ เช่น  ซื่อตรงและจริงใจต่อทั้งตนเองและผู้อื่น  ไม่คิดคดทรยศ  ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง
          พฤติกรรมที่แสดงความไม่ซื่อสัตย์ เช่น  พูดปด โกหก หลอกลวง ไม่จริงใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น     ทั้งการคิดคดโกง ทรยศ และหลอกลวง
พฤติกรรมที่แสดงว่ามีความซื่อสัตย์  มีดังนี้        

         1. ตรงต่อเวลา   นัดหมายแล้วมาตามนัดและตรงเวลา   มาโรงเรียนตรงเวลาไม่มาสาย

         2. ไม่พูดปด   พูดความจริงเสมอ
         3.ไม่หน้าไหว้หลังหลอก   ต่อหน้าทำอย่างหนึ่งและลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง
         4. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด  ไม่ใส่ร้ายความผิดให้กับผู้อื่น
         5.จ่ายเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสิ่งของ   ขึ้นรถประจำทางหรือโดยสารยานพาหนะอื่นๆหรือใช้บริการอื่นๆที่ต้องเสียเงินค่าบริการ
         6. ไม่หยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนจะใช้สิ่งของผู้อื่นต้องขออนุญาตก่อน
         7.ไม่ลอกการบ้านเพื่อน ไม่แอบอ้างผลงานเพื่อนเป็นผลงานตัวเอง ไม่ลอกคำตอบเพื่อน
4. วรรณกรรม สุภาษิต คำพังเพย เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์
               Ø ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
               Ø เสียชีพอย่าเสียสัตย์
               Ø ฉันจะสัตย์ซื่อ เพราะคนเชื่อถือไว้ใจฉัน
               Ø กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัย แก่คนอื่น
               Ø หากปราศจากความซื่อสัตย์แล้ว ไฉนเลยจะมีความสงบสุขทางใจได้
               Ø รักคือ... ความซื่อสัตย์ ถ้าไม่มีความซื่อสัตย์ ก็คงไปด้วยกันไม่ได้
ซื่อสัตย์คือสัตย์ซื่อ
ต้องยึดถือเป็นต้นหน
ซื่อสัตย์เกิดที่ตน
ในทุกคนจึงต้องมี
ซื่อสัตย์เริ่มที่บ้าน
  ร่วมประสานเพื่อศักดิ์ศรี
ซื่อสัตย์คือความดี
 บ้านเมืองนี้จะร่มเย็น
          
            ซื่อสัตย์จะเกิดก่อ             
ผลิแตกหน่อมาให้เห็น
ซื่อสัตย์ทำให้เป็น
อย่าทำเล่นจะเสียงาน
ซื่อสัตย์เถิดพี่น้อง
ไทยทั้งผองร่วมประสาน

ซื่อสัตย์เริ่มที่บ้าน
แผ่กิ่งก้านสร้างสังคม.  



คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้